HOME ABOUT SERVICE CONTENT CONTACT

บริการจดทะเบียน ทำบัญชี ภาษี ครบวงจร
Anchana Account & Audit
02-552-8040
064-9354490

CONTENT

บทความเกี่ยวกับภาษีและความรู้มากมายเกี่ยวกับกฎหมายด้านการบัญชี


Photo of Me

หลายๆคนคงสงสัยว่าวิชาการบัญชีคืออะไร ทำไมถึงทำงานกับตัวเลขเยอะ เเค่คิดเลข คำนวณเงินธรรมดาหรือเปล่า จริงๆเเล้วกระบวนการทำบัญชีมีมากกว่าการคิดเงิน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี โดยจะเเบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 4 หัวข้อดังนี้

1. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือรายการสินค้าที่เกิดขึ้นประจำวันเเละหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจต่างๆ
2. นำข้อมูลสินค้าที่เกิดขึ้นมาบันทึกลงในสมุดรายวันขั้นต้นให้ถูกต้องตามหลักบัญชีที่ถูกรับรองโดยทั่วไป
3. นำรายการสินค้าที่บันทึกในสมุดรายวันขั้นต้นมาจำเเนกเป็นหมวดหมู่ของประเภทบัญชีต่างๆ เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้เเละค่าใช้จ่าย เป็นต้น
4. นำหมวดหมู่ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นรายวันจากการบันทึกสินค้านั้นๆ มาสรุปผลข้อมูลเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานเเละฐานะทางการเงินของกิจการทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ดังนั้นการบัญชีไม่ได้มีเเค่การคิดเลขธรรมดา เเต่ต้องทำตั้งเเต่เก็บรวบรวมข้อมูล จดบันทึกประจำวัน จำเเนกสินค้าต่างๆเป็นหมวดหมู่ หลังจากนั้นจะนำหมวดหมู่ที่เเบ่งได้มาสรุปเป็นผลข้อมูลของการดำเนินงานเเละฐานะทางการเงินเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในขั้นตอนต่อไป เพื่อประโยชน์เเก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกันหลายฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ รัฐบาลเเละนักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณเเละการปรับปรุงบัญชีเป็นต้น

Photo of Me

หลายคนคงสงสัยว่า “Assets” ในศัพท์ของบัญชีหมายความว่าอะไร คำว่า “Assets” คือ สินทรัพย์ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ในความควบคุมของกิจการ จะเป็น สิ่งที่ไม่มีตัวมูลค่าหรืออาจจะเป็นสิ่งที่มีมูลค่าก็ได้ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิง เศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่แลกเปลี่ยนเป็นรายได้หรือรายจ่ายได้ อย่างเช่น
- สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินหรือเทียบเท่าเงิน เช่น เงินสด และตั๋วเงินรับต่าง ๆ
- สินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง เช่น ลูกหนี้
- สินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น ที่ดิน อาคาร รถยนต์
- สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน
รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วจะให้ประโยชน์ต่องวดบัญชีถัดไป ได้แก่ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าประเภทต่าง ๆ เช่น ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า
เพราะฉะนั้นเเล้วการที่เรามีทรัพย์สินเป็นสินทรัพย์ไว้ก็เป็นทางที่เราสามารถนำเงินสดมาต่อยอดเเละเพิ่มมูลค่าในตัวสินทรัพย์ต่างๆมากขึ้นในอนาคตได้

Photo of Me

CPA คืออะไร เห็นเยอะมากกับงานสายวิชาการบัญชี คือถ้าในวงการหุ้นก็คงเป็น CPALL และตอนนี้แอดมินก็คงติดดอยไปแล้ว
เพราะที่จริง CPA ย่อมาจาก Certified Public Accountant หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คือ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพบัญชีในด้านการสอบบัญชี สามารถลงนามรับรองในงบการเงินได้ โดยคนทั่วไปอาจจะเรียกว่า “Audit” หรือ “Auditer”
CPA นั้นมีอยู่ทั่วโลกเเละมีข้อกำหนดคุณสมบัติที่เเตกต่างกัน ซึ่งโอกาสที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสอบบัญชีในประเทศไทยมีข้อกำหนดว่า
ต้องจบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีด้านบัญชีตามหลักสูตรของสภาวิชาชีพบัญชีที่พระราชูปถัมภ์กำหนด
มีประสบการณ์การทำงานสอบบัญชีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี เเละไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง
ซึ่งวิชาที่จะต้องทำการทดสอบประกอบไปด้วย 3 วิชาคือ บัญชี, กฎหมายเเละการตรวจสอบบัญชี
ดังนั้นการที่จะทำงานเป็นตำเเหน่ง CPA ต้องผ่านการทดสอบ 3 วิชาหลักๆที่กล่าวไปข้างต้นก่อนเเละต้องทำงานด้านนี้ก่อน 3 ปี เเละทำงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมงนั้นเอง

Photo of Me

เมื่อระยะเวลาผ่านไป 6 เดือน บริษัทต่างๆต้องทำการยื่นภาษีเเบบ ภ.ง.ด. 51 หรือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งปี ซึ่งเป็นการยื่นแบบรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) ตามปฏิทิน 1มกราคมถึงวันที่ 31 ธันวาคม หรือการจ่ายภาษีนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากรก่อนสำหรับ กำไรในรอบ 6 เดือนแรกหลังจากนั้นจึงคำนวณค่าภาษีอีกครั้งตอนสิ้นปี หรือ ภ.ง.ด. 50
การยื่นเเบบภาษีจะเเบ่งออกเป็น 2 เเบบ
1.การยื่นเอกสาร : จำเป็นที่จะต้องยื่นก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม หรือตรงกับวันที่ 2 กันยายนของทุกปี ซึ่งสามารถเริ่มยื่นเเบบได้ตั้งเเต่วันที่ 1 กรกฎาคม
2.การยื่นเเบบผ่านอินเตอร์เน็ต : กรมสรรพากรได้ขยายกำหนดการยื่นแบบฯ ทุกประเภทภาษีออกไปอีก 8 วัน ซึ่งสามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน
เเต่ถ้าหากยื่นไม่ตรงตามกำหนดนี้จะมีเบี้ยปรับเเละจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 จะมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ เเละ บริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

Photo of Me

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 มีสองวิธี
1.บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลตามกฎหมายไทย จะใช้วิธีคำนวณจากการประมาณกำไรสุทธิทั้งปีลบออกด้วยขาดทุนสะสมหรือกำไรที่ได้รับเอามาหารสองเเล้วคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล *ซึ่งอัตราภาษีเงินได้จะมีอยู่ 2 อัตราคือ 20% หรือเเบบ SME ที่จะได้ลดอัตราภาษี
2.บริษัทจดทะเบียน ธนาคาร บริษัทเงินทุนหรือหลักทรัพย์ จะใช้วิธีคำนวณจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง
สุดท้ายก่อนการยื่นเเบบภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา หรือ ภ.ง.ด. มีสิ่งที่ควรระวังนั้นมีอยู่ 2 ข้อ
1.หากประมาณการกำไรสุทธิ ขาดไป เกิน 25% โดยไม่มีเหตุอันสมควร จะต้องเสียเงินเพิ่ม 20%ของ ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ
2.หากประมาณการกำไรสุทธิ ขาดไป เกิน 25% โดยไม่มีเหตุอันสมควร ภาษีที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
ของภาษีที่คำนวณได้ตาม ภ.ง.ด. 50 ของปีที่แล้ว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง ซึ่งไม่สามาถคาดการณ์หรือควบคุมสถานการณ์ได้
ฉะนั้นการทำ ภ.ง.ด.51 จึงเป็นเรื่องสำคัญมากโดนเฉพาะนักธุรกิจรุ่นใหม่เพราะถ้าทำบัญชีรายรับอย่างเดียวอาจจะต้องเสียภาษีเยอะแน่ๆ น้องอลิซขอแนะนำให้ทุก บริษัท จัดเก็บ คำนวณ และยื่น ภ.ง.ด.51 ให้ถูกต้องนะคะ

Photo of Me

การยื่นเเบบของ ภ.ง.ด. 94 เเละ ภ.ง.ด. 51 เป็นเรื่อที่สำคัญมากๆ เพราะหากเราไม่ยื่นอาจจะโดยภาษีย้อนหลัง แบบจุกๆได้ แต่จากโพสต์ก่อน การยื่นเเบบของ ภ.ง.ด. 94 เเละ ภ.ง.ด. 51 จะต้องเดินทางไปที่สรรพากรของเขตนั้นๆ อาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากได้ ยิ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพราะส่วนมาก บุคคลธรรมดา ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะต้องคำนวณแล้วไปยื่นเอง แต่งานก็ต้องทำ ธุรกิจก็ต้องเดิน อาจจะทำให้ไม่สะดวกในการยื่นภาษีด้วยตนเองได้
แต่ทุกปัญหามีทางออก หากบริษัทไหนไม่สะดวกที่จะยื่นเเบบภาษีครึ่งปีเเบบการยื่นเอกสารก็สามารถที่จะยื่นเเบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยวันนี้น้องอลิซเเละน้องอัลฟ่านำกำหนดการยื่นเเบบของ ภ.ง.ด. 94 เเละ ภ.ง.ด. 51 ในปีนี้มาฝากทุกคนด้วยน้าา
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด. 94 สามารถยื่นเเบบได้เเล้วตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2565
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ หรือ ภ.ง.ด. 51 สามารถยื่นเเบบได้เเล้วตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 8 กันยายน 2565
อย่าลืมไปยื่นเเบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเเละนิติบุคคลด้วยนะคะ

Photo of Me

หลายๆคนคงยังไม่ทราบว่าบิคลค่าไฟฟ้าที่ออกในชื่อของคนอื่นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้จริงๆหรือ อลิซขอบอกเลยว่าเราสามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้จริงๆ ซึ่งอลิซขอเเบ่งการใช้ประโยชน์ตามประเภทภาษีได้ 2 ประเภท
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน บิลต่างๆที่ออกเป็นชื่อของบุคคลอื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน เป็นต้น บริษัท “สามารถนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้” เนื่องจากเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการ เเต่จะต้องมีหลักฐานเพื่อพิสูจน์ได้ว่าบริษัทมีการใช้จ่ายจริง และหลักฐานอื่นๆประกอบ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของภาษีที่ปรากฏในใบกำกับภาษีที่ออกในนามเจ้าของอาคารผู้ให้เช่านั้นบริษัท “ไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อได้” เนื่องจากใบกำกับภาษีไม่ได้แสดงชื่อของบริษัท
ดังนั้นอลิซขอเเนะนำหากบริษัทไหนมีค่าใช้จ่ายเเละมีหลักฐานยืนยันชัดเจนสามารถนำใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินมายื่นเพื่อเป็นใช้ประโยชน์ทางภาษีกันนะคะ

Photo of Me

หลายๆท่านที่เริ่มทำธุรกิจก็ดีหรือว่า บริษัทที่ทำธุรกิจมานานแล้ว คงจะต้องจำเป็นในการใช้รถเพื่อมาดำเนินการธุรกิจของตัวเอง และพอธุรกิจดำเนินไปเรื่อยๆก็อยากจะซื้อรถเป็นของบริษัทเลย ไม่ว่าจะเพื่อไปติดต่อลูกค้า ส่งสินค้า หรือแม้แต่เป็นสวัสดิการให้กับพนักงานหรือผู้บริหาร แต่หลายๆคนมีรถอาจจะยังไม่ทราบว่ารายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่งนั้นมีอะไรบ้างวันนี้น้องอัลฟ่าได้นำความรู้เกี่ยวกับมูลค่าต้นทุนรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่งมาฝากครับ ซึ่งเราจะเเบ่งออกเป็น 3 เเบบ
1.ธุรกิจทั่วไปที่ใช้ในการประกอบกิจการ*
1.1 กรณีที่ซื้อ ค่าเสื่อมราคาจะหักจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะ ซึ่งต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อ หรือ ราคาที่ต้องผ่อนในรอบระยะบัญชี ส่วนที่ไม่เกินคันละ 1,000,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
> 1.2 กรณีให้เช่า จะเป็นการจ่ายทางภาษี 2 เเบบ ซึ่งจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเเล้ว
เช่ารายเดือน ไม่เกินคันละ 36,000 บาท
เช่ารายวัน ไม่เกินคันละ 1,200 บาท
3.ธุรกิจให้เช่ารถยนต์เพื่อให้เช่า
> 3.1 กรณีที่ซื้อ ค่าเสื่อมราคาจะหักจากมูลค่าต้นทุนทั้งหมด**
> 3.2 กรณีให้เช่าจะเป็นรายจ่ายภาษีได้ทั้งจำนวน**
> *ต้องนำมาใช้กับรถยนต์ของกิจการหรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่าใช้หรือยินยอมให้ใช้เท่านั้น
> ** ผู้ประกอบการ VAT จะไม่รวมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้ประกอบการเเบบ Non VAT จะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเเล้ว
> ดังนั้นเเล้วรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่งมีมูลค่าต้นทุนรถยนต์ที่เราจำเป็นต้องรู้ หากใครหรือบริษัทไหนที่ต้องการซื้อรถมาเป็นอุปกรณ์ในการทำธุรกิจ เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน หรือแม้แต่อยากทำธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์อย่าลืมศึกษาเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกันด้วยนะครับบ

To the top

©2022 by Anchana Account & Audit. All Rights Reserved.